วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คันเบ็ด (Rod) ที่ควรรู้



 พอดีผมไปเจอในเว็ปมาจึงนำมาให้น้าๆได้ศึกษาไว้คับ ก่อนอื่นผมขออนุญาตน้าเว็ปลงข้อมูลด้วยนะคับ
ว่าด้วยเรื่องของ “คันเบ็ด” ครับ (กระทู้ที่รวบรวม ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคันเบ็ดเบื้องต้นครับ )
การเปิดกระทุ้นี้ เป็นเพียงกระทู้ ที่รวบรวม ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับ  ” คันเบ็ด ” เกือบทั้งหมดที่ผมเคยอ่าน และ เคยศึกษาพบเจอมานะครับ บางส่วนอาจจะคัดลอกมาจากเว็ปอื่น ( ต้องขออนุญาตไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะบทความบางบทความก็เป็นบทความที่เก่า แต่ก็เป็นบทความที่มีประโยชย์มากๆ จึงขออนุญาตนำมาแบ่งปันกันต่อนะครับ ขอบคุณครับ ) แต่บางส่วนก็เป็นประสบการส่วนตัว และ ความรู้ที่ได้สั่งสมมา หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักตกปลารุ่นใหม่ๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ
น้าๆหลายท่าน ที่เพิ่งหัดตกปลา ตอนเลือกซื้อคันเบ็ด คันแรก น้าๆตัดสินใจจากอะไรครับ ( บางท่านซื้อเพราะเพื่อนยุบางท่านซื้อเพราะคนขายแนะนำ แต่บางท่านก็เลือกคันที่เราชอบ) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผมไหน เราก็จะได้คันเบ็ดคันแรก ที่หลายคน เรียกว่า “คันครู” หรือ หากซื้อครบชุดก็จะเรียกว่า “ชุดขึ้นครู” เพราะเป็นชุดที่จะให้เราลองผิดลองถูก และ จะต้องผ่านการใช้งานอย่างโชคโชน จนเกือบจะหมดสภาพ เราถึงจะเลือกซื้อคันเบ็ดชุดที่ 2  บางคนอาจจะบอกว่า ชุดแรกเอาชุดราคาถูกๆไว้ก่อน เพราะเดี่ยวก็เน่าหมด แต่บางท่านก็บอกว่า จะเสียเงินเกือบ พัน สู้เพิ่มเงินอีกหน่อย รอชุดดีๆไปเลยดีกว่า …. ดันนี้ก็เป็นอีก ความคิดที่ดีนะครับ แต่ปัญหาคือ แล้วเราจะเลือกคันที่เราคิดว่าถูกใจได้อย่างไรหล่ะ คันเบ็ดตกปลามีมากมาย เดินเข้าร้านแต่ละร้านก็ลายตาไปหมด มีเยอะซะจนไม่รู้จะเริ่มหยิบจากคันไหนดี แต่ถ้าเราไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือ พื้นฐานความรู้ เราก็จะได้แต่ฟัง ทั้งเพื่อนและคนขาย สาธยายความดีของรุ่นต่างๆ จนเรางง และ เราก็อาจจะได้คันที่เราไม่ถูกใจกลับบ้าน
โดยส่วนตัวแล้ว ผมอยากแนะนำ ผู้ที่คิดจะเริ่มซื้อ คัน หรือรอก ใหม่นะครับว่า

คุณต้องมีจุดมุ่งหมายก่อนว่า
1. คิดจะซื้อคันเบ็ดใหม่ซักคัน
2. กำหนดก่อนนะครับ ว่าอยากตกปลาอะไรเป็นส่วนใหญ่ ผมเข้าใจนะครับ ว่าปลาในน้ำเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ปลาอะไรจะมากกิน ) แต่จุดมุ่งหมายในที่นี้จะหมายถึง หมายที่เราคาดว่าคงต้องใช้เวลาตกปลาที่นี้มากเป็นพิเศษ อาทิเช่น
- หากเพื่อนตกปลาแบบตีเหยื่อปลอม ในบ่อปลา  คันที่คุณจะเลือกซื้อ ก็จะเป็นคันตีเหยื่อปลอม ราคาประมาณ พันต้นๆ-หลายๆพัน
- หาก จะไปตกปลาใหญ่ตามฟิชชิ่งปาร์ค คันที่คุณจะเลือกก็ คงเป็นคันแนว แอ็คชั่นค่อนข้างแข็ง คันจะใหญ่กว่า คันตีเหยื่อปลอม และ จะตัดสินใจเลือกเป็นคัน 2ท่อน หรือ คันท่อนเดียว นั้นก็แล้วแต่ความชอบส่วนตัวอีกทีนึงครับ ( ราคาก็ขึ้นอยู่กับความชอบ และ คุณภาพหรือเกรดของคันนั้นๆด้วยครับ )  แต่ความยาวสำหรับคันที่ใช้ตกตามฟิชชิ่งปาร์ค ส่วนมากแล้วจะเลือกคันที่มีความยาว ไม่ควรจะเกิน 9 ฟุต ( อันนี้ไม่ได้มีหลักการพิเศษใดๆตายตัวหรอกครับ แต่เพราะ พื้นที่สำหรับตีเหยื่อในบ่อฟิชชิ่งปาร์คส่วนใหญ่จะไม่กว้างมาก การใช้คันที่ยาวมากๆ เวลาเราจะตีอาจจะ โดนพวกหลังคา ของที่นั่งพักในบ่อ อันนี้ผมก็ไม่ได้กำหนดตายตัวหรอกนะครับ แต่หากใครใคร่ใช้ ก็ไม่ผิดหรอกนะครับ )
-  หากเราเลือกที่จะตกปลา ตามหมายธรรมชาติเป็นหลัก คันที่คุณจะต้องเลือกก็ควรจะเป็น คันที่ออกจะยาวซักหน่อย ซักประมาณ 8-10 เพื่อเน้นให้การส่งเหยื่อออกไปได้ไกลที่สุด  และ มีระยะหวังผลได้สูงที่สุดนั่นเองครับ
อ่ะ ! เมื่อเพื่อนๆเริ่มจะตัดสินใจได้แล้วว่า คิดจะใช้งานคันเบ็ดคันแรกของที่เราไหนบ้าง เราก็จะได้ตัดตัวเลือกที่ไม่จำเป็นออกไปและ สามารถมีเวลาในการเลือกคันที่เราคิดว่าเหมาะสม และ ถูกใจเราที่สุดได้ง่ายขึ้นครับ ( เพราะตอนผมเลือกซื้อคันแรกๆ ใช้เวลาในการเดินเข้าๆออกๆ ร้านอุปกรณ์ตกปลา อยู่เกือบๆเดือนนึง จับคันมา สะบัดดูก็หลายสิบคันมากๆ เพราะผมไม่รู้ว่าจะเลือกคันแบบไหนดี แต่ถ้าหากผมรู้จุดมุ่งหมายการใช้งานคันเบ็ดที่ผมจะเลือกตั้งแต่แรก ผมคงได้คันเบ็ดคู่กาย ตั้งแต่วันแรกที่ผมเดินเข้าร้านแล้วหล่ะครับ ไม่ต้องเสียเวลาเลือก คันเกือบทุกแบบ จนงงไปหมดหรอกครับ )
3. เมื่อเรากำหนดได้แล้ว เราก็เลือกเฉพาะคันในแบบที่เราจะใช้งาน ออกมาจาก สแตนปักคันเบ็ดซัก 4-5 คัน ( ขอย้ำว่า เลือกโดยคราวๆ และ หยิบออกมาเฉพาะคันที่ชอบ เท่านั้นนะครับ อย่าหยิบออกมาเยอะ เพราะเดี่ยวจะปวดหัว ลังเล กับการ เลือกอีกว่า เอาอันไหนดีหว่า ??? ชอบทั้งสองแต่มีงบจำกัด ) และ ไม่ควรงัดคันนะครับ ไม่ใช้เพราะกลัวคันของเค้าหักหรอกครับ แต่ผมว่า มันเสียมารยาทต่อเจ้าของร้าน และหากคุณลองงัดอย่างผิดวิธี คันๆนั้นอาจจะเป็นคันมีตำหนิเลยก็ได้นะครับ เห็นใจทั้งคนที่ จะซื้อคันๆนั้นไปด้วย และ เห็นใจเจ้าของร้านด้วยนะครับ ทางที่ดี เราก็ดูที่เวทคันที่พิมพ์ไว้ ตรงด้ามคัน(ส่วนมากจะมีพิมพ์ไว้เกือบทุกๆคันนะครับ ) เพียงดูเท่านี้เราก็จะทราบแอ็คชั่นของคันอย่างคราวๆ แล้วหล่ะครับ และ เมื่อเราเห็นเวทคันแล้ว เราก็จะคัด คันเวทที่เราไม่ต้องการออกได้อีกบางส่วน ( เห็นมั๊ยครับ ตัวเลือกของเราก็จะเริ่มๆลดลงแล้ว)
4. เมื่อเราดูเวทคัน และคัดคันที่มีเวทที่เราไม่ต้องการออกไปได้บ้างแล้ว เราก็จะเอาคันตัวเลือกที่เหลือ มาลองสะบัด (สะบัดดูเพียงเบาๆก็พอนะครับ ให้เพียงพอที่ปลายคันจะกระดิก เราก็จะตัดสินใจได้เพิ่มขึ้นแล้วครับ ว่าเราชอบคันไหน)
- และ ส่วนสุดท้ายเมื่อเราได้คันที่เราพอใจแล้ว ทีนี้หากเราต้องการจะลอกงัดคันดูเพื่อความชัดเจน ว่าคันนี้จุถูกใจเราแน่นอนแล้ว เราก็สามารถขออนุญาตเจ้าของร้าน ให้เค้าลองงัดคันให้ดู ไม่ตอ้งเอาแบบงัดกันสุดแรงหรอกนะครับ!! แค่เพียงงัดดูนิดหน่อยก็จะเห็นแอ็คชั่นของคันชัดเจนแล้วหล่ะครับ ( เห็นมั๊ยครับ ทีนี้เราก็จะได้คันที่ถูกใจอย่างแท้จริง โดยที่ไม่ได้เอาคันในร้านซัก 10-20คันมางัดทุกคัน ให้เราปวดหัว ได้อย่างง่ายๆแล้วหล่ะครับ )
5.และนี้คือส่วนสุดท้ายที่สำคัญมากๆในการจบการเลือกครั้งคัน ก็คือ จ่ายเงินซื้อคันที่เราเลือกมากซะ อย่าคิดว่าไว้รอเลือกคันรุ่นอื่นๆอีก  ( คำแนะนำนะครับ อย่าไปคิดมากเลยนะครับ ยิ่งเลือกมากยิ่งปวดหัว ยิ่งตัวเลือกเยอะยิ่งต้องคิดหนักนะครับ หากถูกใจแล้วก็ซื้อมาเป็นเจ้าของซะเหอะครับ อย่ารออีกเลย  ) ไม่งั้น หากเรากลับมาที่ร้านอีกที แล้วคันนั้นถูกขายไปแล้ว มันยิ่งน่าเจ็บในมากกว่านะครับ เสียเวลาเลือก และยังต้องเจ็บใจอีกว่าทำไม ตอนนั้นเราไม่ซื้อคันนั้นไว้นะ
อย่าลืมนะครับ คันเบ็ดมีเป็น ร้อยๆรุ่น แต่คันที่ถูกใจเราจริงๆจะมีเพียงไม่กี่รุ่นหรอกนะครับ
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

ข้อมูลลึกลงไปอีกนิด : ว่าด้วย ” คันเบ็ด”
การเปรียบเทียบคุณสมบัติ คุณภาพ และลักษณะการใช้งานของคันเบ็ด จะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ประการคือ
1.ความแข็ง หรือ เพาเวอร์ (Power)
2.แอคชั่น (Action)
3.เซนชิติวิตี้ (Sensitivity)
1.ความแข็ง หรือ เพาเวอร์ (Power) คือขนาดของแรงที่มากระทำต่อคันเบ็ดให้บิดหรืองอโค้ง โดยยึดแรงปฏิกิริยาที่แบล้งค์จะดีดตัวหรือขืนเมื่อมีแรงมาดึงที่ปลายคันเบ็ด มีอยู่ 3 ระดับใหญ่ๆ คือ แข็ง (Heavy), ปานกลาง (
Medium) และอ่อน (Light) ใช้ตัวย่อว่า H,M และ L ตามลำดับ และสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 9 ระดับตามที่บริษัทของ เฟนวิค (Fenwick) กำหนดจนเป็นที่ยอมรับมาตรฐานนี้กันทั่วโลก คือ
กลุ่มอ่อน มี 3 ระดับ คือ Ultra Light, Extra Light, Light
กลุ่มปานกลาง มี 3 ระดับ คือ Medium Light, Medium, Medium Heavy
กลุ่มแข็ง มี 3 ระดับ คือ Heavy, Extra Heavy, Ultra Heavy
คันที่มีพาวเวอร์สูงๆ ก็เหมาะที่จะใช้กับสายที่มีความทนแรงดึงสูงๆ แต่ก้ไม่เหมาะกับสายที่มีแรงยืดตัวต่ำๆ(ในกรณีนี้แก้ด้วยการใช้ช็อค ลีดเดอร์)
ส่วนคันที่มีพาวเวอร์ไม่มาก ก็เหมาะกับสายที่มีความทนแรงดึงน้อยๆ เพราะคันจะเป็นตัวซับแรงกระชากได้ดี
2.แอคชั่น (Action) คือรูปแบบการโค้งตัวของคันเบ็ด แบ่งออกได้ 4 รูปแบบ คือ
Action A หรือ Extra fast เป็นแอ็คชั่นที่แข้งมาก คือเมื่อทดลองโน้มคันเบ็ดดูจะเห็นว่าปลายคันโค้งลงมาได้เพียง 1/4 หรือ 25% ของความยาวทั้งหมด
Action B หรือ Fast เป็นแอ็คชั่นแข้งพอประมาณคันเบ็ดจะโค้งลงมาประมาณ 1/3 หรือ 33% ของความยาวทั้งหมด
Action C หรือ Moderate เป็นแอ็คชั่นปานกลาง คันเบ็ดจะโค้งลงมา 1/2 หรือ 50% ของความยาวทั้งหมด
Action D หรือ Slow เป็นแอ็คชั่นที่อ่อนที่สุด เกือบจะเรียกได้ว่าโค้งเหมือนเครื่องหมายวงเล็บ
คันที่มีแอคชั่นแข็ง ก็เหมาะต่อการส่งเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ก็จะส่งผ่านการรับรู้แรงสั่นสะเทือนด้อยกว่าคันที่มีแอคชั่นอ่อน
3.เซนชิติวิตี้ (Sensitivity)
คือความไวของคลื่นสัญญาณที่ส่งมาทางปลายสายมาสู่มือผู้ตก ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของเหยื่อปลอม หรือ ปลาตอด เซนซิติวิตี้ของคันเบ็ดจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นแบล้งค์ ตัวเส้นใย และ
โครงสร้างของเส้นใยที่นำมาทอผสานเป็นผ้า การอัดม้วนที่แน่นเสมอกันตลอดทั้งคัน การอบเนื้อให้แกร่ง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนมีผลต่อเซนซิติวิตี้ทั้งนั้นครับ
>>โดยรวมแล้ว คันเบ็ดที่ดี ต้องมีครบทั้ง3 องค์ประกอบนี้ และ จะต้องมีความสัมพันธ์ กันอีกด้วยนะครับ <<
นี้คือภาพแสดง แอคชั่น (Action)  ของคันนะครับ (ดูกันให้เห็นจะๆกันไปเลยครับ)
Action A หรือ Extra fast เป็นแอ็คชั่นที่แข้งมาก คือเมื่อทดลองโน้มคันเบ็ดดูจะเห็นว่าปลายคันโค้งลงมาได้เพียง 1/4 หรือ 25% ของความยาวทั้งหมด
Action B หรือ Fast เป็นแอ็คชั่นแข้งพอประมาณคันเบ็ดจะโค้งลงมาประมาณ 1/3 หรือ 33% ของความยาวทั้งหมด
Action C หรือ Moderate เป็นแอ็คชั่นปานกลาง คันเบ็ดจะโค้งลงมา 1/2 หรือ 50% ของความยาวทั้งหมด
Action D หรือ Slow เป็นแอ็คชั่นที่อ่อนที่สุด เกือบจะเรียกได้ว่าโค้งเหมือนเครื่องหมายวงเล็บ

วัสดุ ที่นำมาทำคันเบ็ด ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดถูกคัดสรรปรุงแต่งสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างมาก มาย ซึ่งก่อให้เกิดคันเบ็ดที่มีคุณสมบัติที่ตรงต่อความต้องการของนักตกปลาและ ตลาด  มีดังนี้
1.ไม้ไผ่ ไม้ไผ่แม้นักตกปลาในบ้านเราจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันนักก็ตาม แต่สำหรับนักตกปลาในต่างประเทศ คันไม้ไผ่ก็ยังถือว่าเป็นคันเบ็ดที่มีนักตกปลาบางกลุ่มที่นิยมความคลาสสิ คเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกตกด้วยชุดฟลาย
แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของคันไม้ไผ่ก็คือ ต้องการการดูแลอยู่พอสมควร การจัดเก็บก็ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่รุนแรงมาก เช่น ไม่ปะทะกับแสงแดดโดยตรง ไม่ชื้นจนเกินไป แล้วต้องไม่วางพิงกับผนังไว้นานๆอย่างเด็ดขาด เพราะคันเบ็ดจะโค้งงอตามแนวที่วางพิง
2.  ไฟเบอร์ กลาส เมื่อช่วงการพัฒนาการทางเคมีภัณฑ์และความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์ เป็นไปด้วยดี ในช่วงนี้ผู้พัฒนาคันเบ็ดก็ได้รู้จักกับวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เสถียร กว่าวัสดุธรรมชาติ แรงดีดแรงงัดก็มีความสม่ำเสมอในทุกๆชิ้นในสายการผลิต
ข้อดี คันไฟเบอร์ กลาส ถือเป็นคันที่มีประสิทธิภาพรอบด้านในยุคสมัยนั้น แต่เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน คันไฟเบอร์ กลาส กลับมีข้อจำกัดตรงที่มีน้ำหนักมาก ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างน้อย แต่ด้วยความเหนียวทนทานของไฟเบอร์ กลาส ก็ทำให้เหมาะกับงานสำหรับตกปลาด้วยเหยื่อปลอมขนาดเล็กๆ เช่น  ปลานิล ปลาดุก บ้านเรา นิยิมใช้กันมากเนื่องจาก ราคาค่อนข้างถูก และ มีให้เลือกหลายหลายรุ่น และ ญี่ห้อ อีกทั้งยังใช้งานได้หลากหลาย  ไม่ต้องบำรุงรักษามาก
3.  กราไฟท์ ยุคต่อมาการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ดีขึ้น สามารถประสานกราไฟท์ให้ได้เป็นเส้นใย และนำมาทอเป็นผืน แล้วนำมาม้วนรอบแกนแล้วประสานด้วยกาวให้อยู่ตัว คันกราไฟท์ก็ถือกำเนิดขึ้น
ข้อดีของวัสดุกราไฟท์คือเบา และมีแรงดีดดี และเมื่อนักประดิษฐ์ได้ลองถักทอแผ่นกราไฟท์ด้วยโครงสร้างที่ต่างกันก็เกิด คุณสมบัติของคันเบ็ดที่แตกต่างออกไป แต่ข้อจำกัดของกราไฟท์ก็คือ เป็นวัสดุที่เปราะบาง และเป็นสื่อไฟฟ้า เคยมีกรณีฟ้าผ่าลงคันเบ็ดมาแล้วหลายหน และในที่สุดก็ได้มีการผสมข้ามวัสดุกันระหว่างกราไฟท์ กับไฟเบอร์กลาส ก็ทำให้ได้วัสดุทำคันที่สนองต่อการตลาดมากขึ้น
4. คาร์บอนไฟเบอร์ และเมื่อสามารถนำธาตุกราไฟท์มาถักทอเป็นแผ่นผืนได้ หลังจากนั้นก็ได้มีการศึกษานำเอาวัตถุธาตุอื่นๆมาทอประสานกัน คาร์บอน ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุธาตุที่ได้รับการพัฒนามาจนเป็นคันเบ็ด เช่นเดียวกันกับวัตถุธาตุอื่นๆ เช่น โบรอน เป็นต้น
ข้อดีของ วัตุธาตุพิเศษเหล่านี้คือ นักประดิษฐ์ได้คัดสรรนำธาตุที่มีความแกร่งและยืดหยุ่นสูงมาประกอบ อีกทั้งยังมีความเบาเป็นพิเศษ แต่ข้อจำกัดของวัสดุใหม่ๆเหล่านี้คือ ราคาที่สูง เพราะวัสดุเหล่านี้ ยังมีการศึกษาพัฒนาคุณสมบัติอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมกว่า ทำให้ยังมีวางจำหน่ายให้เห็นอยู่น้อยมากในปัจจุบัน
หากจะเรียก เนื้อคันเบ็ดโดยรวมๆที่ผมเห็นได้จากในตลาดบ้านเราตอนนี้ก็มีประมาณ 3เนื้อที่เห็นได้บ่อยๆ
1. คันเนื้อไฟเบอร์ : เป็นคันที่มักมีเวท และ แอ็คชั่น ค่อนข้างจะอ่อน หรือ ย้วยๆหน่อย โคนคันจะค้อนข้างใหญ่  ราคาถูกและมีให้เลือก ทั้งแบบ คันเบท และ สปิน ด้ามก็มีให้เลือก ทั้งด้าม ก๊อก และ ด้ามยาง ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นคันพื้นฐานของผู้ฝึกหัดตกปลาช่วงแรกๆก็ว่าได้นะครับ ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ต้องการดูแลรักษามาก ราคาถูก  ส่วนมาก ราคาเริ่มต้นที่ 200- 400 กว่าบาท
2. คันเนื้อตัน : ที่เราเคยเห็นจะเป็นคันเนื้อสีเขียวๆ ในปัจจุบัน มีการผลิตคันให้มีสีอื่นๆแล้ว ทั้ง สีใส่ , ดำ , หรือสีกากเพชร ผมก็เคยเห็นมาแล้ว โดยรวมแล้วคันประเภทนี้เป็น คันอเนกประสงค์อย่างแท้จริง เพราะมีแอ็คชั่น กลาง-แข็ง  ในส่วนดีที่คนมักนิยมซื้อคันตัน ก็เพราะว่า เป็นคันที่ไม่มีกระดูกคัน กล่าวคือ จะใช้กับรอกเบท หรือ สปินก็ได้ ไม่ต้องเปลี่ยนคัน และ ไม่มีผลต่อการใช้งานคัน มักใช้เป็นคันตกปลาใหญ่ ทั้งทนทาน ตากแดดได้นานไม่กรอบง่ายๆ ราคาคันประมาณ 300-500 กว่าบาท ก็หาซื้อได้แล้วครับ แต่ คันตันมีข้อเสียคือ เรื่องน้ำหนักคันที่ค่อนข้างหนัก จึงมักใช้งานประเภท ตกปลาทะเล หรือ ปลาตามแม่น้ำ ไม่เน้นการตี เพราะคันมีน้ำหนักมากกว่าคันประเภทอื่นๆ จึงอาจทำให้ตี หรือ ส่งเหยื่อได้ไม่ไกลเท่าที่ควร
3. คันเนื้อการ์ไฟ:เป็นคันที่สวย และ เพรียวที่สุด เมื่อเทียบกับคันเนื้ออื่นๆนะครับ หากใครชอบคันที่มีความสาย และ เก็บลายละเอียดดีๆ ก็มักจะเลือกคันประเภทเนื้อการ์ไฟนี้แหล่ะครับ ส่วนเรื่องญี่ห้อนี้ก็แล้วแต่ใครจะชอบญี่ห้อใด เลือกได้ตามสบายใจเลยครับ เพราะเดี่ยวนี้เท่าที่ผมเห็นมา คันViva ด้ามก๊อกเคลือบให้เส็รจ แถมยังเป็นเนื้อการ์ไฟ ทำลายผ้าอีกตะหาก ราคาแค่คันละ990บาทเอง ที่บอกได้ละเอียดเพราะเพื่อนผมซื้อมา เอาไปอัด สวาย 15 กิโลขึ้นมาแล้ว ไม่มีสะดุ้ง ครับ หากสนใจหาซื้อได้ที่ร้านอุปกรณ์ตกปลาใกล้บ้านท่านได้เลยครับแต่ถ้าไม่สะดวกผมมีร้านมานำเสนอน่ะครับตามลิ้งนี้ได้เลยครับมีทุกอย่างทั้งอุปกรณ์ตกปลาทั้งคันเบ็ด รอกเยื่อปลอมและทุกๆอย่างเกียวกับการตกปลาครับ เลือกกันได้ที่นี่ครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น